You are on page 1of 5

องค์ประกอบของดนตรีสากล

1. เสียง (Tone) คีตกวีผู้สร้างสรรค์ดนตรี เป็นผู้ใช้เสียงในการสร้างสรรค์ผลงาน ศิลปะ เพื่อรับใช้สังคม ผู้สร้างสรรค์


ดนตรีสามารถสร้างเสียงที่หลากหลายโดยอาศัยวิธีการผลิตเสียงเป็นปัจจัยกำหนด เช่น การดีด การสี การตี การเป่า
เป็นต้น ลักษณะความแตกต่างของเสียงขึ้นอยู่กับคุณสมบัติสำคัญ 4 ประการ คือ ระดับเสียง, ความยาวของเสียง,
ความเข้มของเสียงและคุณภาพของเสียง

1.1 ระดับเสียง (Pitch) หมายถึงระดับความสูง-ต่ำของเสียง ซึ่งเกิดการจำแนกความถี่ของการสั่นสะเทือน


กล่าวคือ ถ้าเสียงที่มีความถี่สูง ลักษณะการสั่นสะเทือนเร็ว จะส่งผลให้มีระดับเสียงสูง แต่ถ้าหากเสียงมีความถี่ต่ำ
ลักษณะการสั่นสะเทือนช้าจะส่งผลให้มี ระดับเสียงต่ำ

1.2 ความสั้น-ยาวของเสียง (Duration) หมายถึง คุณสมบัติที่เกี่ยวกับความ สั้น-ยาวของเสียง ซึ่งเป็น


คุณสมบัติที่สำคัญอย่างยิ่งของการกำหนดลีลา จังหวะ ในดนตรีตะวันตก การกำหนดความสั้น-ยาวของเสียง สามารถ
แสดงให้เห็นได้จากลักษณะของตัวโน้ต เช่น โน้ตตัวกลม ตัวขาวและตัวดำ เป็นต้น

1.3 ความเข้มของเสียง (Intensity) ความเข้มของเสียงเกี่ยวข้องกับน้ำหนัก ของความหนักเบาของเสียง


ความเข้มของเสียงจะเป็นคุณสมบัติที่ก่อประโยชน์ในการเกื้อหนุนเสียงให้มีลีลาจังหวะที่สมบูรณ์

1.4 คุณภาพของเสียง (Quality) เกิดจากคุณภาพของแหล่งกำเนิดเสียงที่แตกต่างกัน ปัจจัยที่ทำให้คุณภาพ


ของเสียงเกิดความแตกต่างกันนั้น เกิดจากหลายสาเหตุเช่น วิธีการผลิตเสียง รูปทรงของแหล่งกำเนิดเสียงและวัสดุที่
ใช้ทำแหล่งกำเนิดเสียง เป็นต้น ปัจจัยเหล่านี้ก่อให้เกิดลักษณะคุณภาพของเสียง ซึ่งเป็นหลักสำคัญให้ผู้ฟังสามารถ
แยกแยะ สีสันของเสียง (Tone Color) ระหว่างเครื่องดนตรีเครื่องหนึ่งกับเครื่องหนึ่งได้อย่างชัดเจน

2. พื้นฐานจังหวะ (Element of Time) จังหวะเป็นศิลปะของการจัดระเบียบเสียง ที่เกี่ยวข้องกับความช้า-เร็ว ความ


หนัก-เบาและความสั้น-ยาว องค์ประกอบเหล่านี้ หากนำมา ร้อยเรียงเข้าด้วยกันตามหลักวิชาการแล้ว สามารถที่จะ
สร้างสรรค์ให้เกิดลีลาจังหวะอัน หลากหลาย ในเชิงจิตวิทยาอิทธิพลของจังหวะที่มีผลต่อผู้ฟังจะปรากฏในลักษณะของ
การตอบสนอง เชิงกายภาพ เช่น ฟังเพลงแล้วแสดงอาการกระดิกนิ้ว ปรบมือร่วมไปด้วย เป็นต้น

3. ทำนอง (Melody) ทำนองเป็นการจัดระเบียบของเสียงที่เกี่ยวข้องกับความสูง-ต่ำ ความสั้น-ยาวและความดัง-เบา


คุณสมบัติเหล่านี้เมื่อนำมาปฏิบัติอย่างต่อเนื่องบนพื้นฐาน ของความช้า-เร็ว จะเป็นองค์ประกอบของดนตรีที่ผู้ฟัง
สามารถทำความเข้าใจได้ง่ายที่สุด ใน เชิงจิตวิทยา ทำนองจะกระตุ้นผู้ฟังในส่วนของสติปัญญา ทำนองมีส่วนสำคัญใน
การสร้างความประทับใจ จดจำและแยกแยะความแตกต่างระหว่างเพลงหนึ่งกับอีกเพลงหนึ่ง
4. เสียงประสาน (Harmony) หมายถึง ระดับเสียงตั้งแต่ 2 เสียงขึ้นไปที่ร้องหรือบรรเลงไปพร้อมๆกัน โดยการจัดแนว
การบรรเลงให้แก่ระดับเสียงต่างๆ พร้อมกับแนวทำนองหลัก เพื่อช่วยปรุงแต่งให้ทำนองเพลงมีความไพเราะน่าฟัง การ
ประสานเสียงแบ่งเป็น 2 วิธีได้แก่ การใช้ขั้นคู่เสียง (Interval) และการใช้กลุ่มคอร์ด (Chord)

5. พื้นผิวของเสียง (Texture) “พื้นผิว” เป็นคำที่ใช้อยู่ทั่วไปในวิชาการด้านวิจิตรศิลป์ หมายถึง ลักษณะพื้นผิวของสิ่ง


ต่างๆ เช่น พื้นผิวของวัสดุที่มีลักษณะขรุขระหรือเกลี้ยงเกลา ซึ่งอาจจะท าจากวัสดุที่ต่างกัน ในเชิงดนตรีนั้น “พื้นผิว”
หมายถึง ลักษณะหรือรูปแบบของ เสียงทั้งที่ประสานสัมพันธ์และไม่ประสานสัมพันธ์ โดยอาจจะเป็นการนำเสียงมา
บรรเลงซ้อนกัน หรือพร้อมกัน ซึ่งอาจพบทั้งในแนวตั้งและแนวนอน ตามกระบวนการประพันธ์เพลง ผลรวม ของเสียง
หรือแนวทั้งหมดเหล่านั้น จัดเป็นพื้นผิวตามนัยของดนตรีทั้งสิ้น ลักษณะรูปแบบพื้นผิว ของเสียงมีอยู่หลายรูปแบบ
ได้แก่

5.1 โมโนโฟนิก (Monophonic) เป็นลักษณะของการร้องหรือบรรเลงทำนองเดียวกันพร้อมๆ กัน

5.2 โพลีโฟนิก (Polyphonic) เป็นลักษณะของการนำทำนองเพลง 2 ทำนองมาร้องหรือบรรเพลงพร้อมกัน


ทำให้เกิดการสอดประสานของทำนองหรือ เมื่อมีมากกว่า 2 ทำนองสอดประสานกัน

5.3 โฮโมโฟนิก (Homophonic) เป็นลักษณะของการคลอทำนองโดยการใช้คอร์ด

5.4 ฮีเตอร์โรโฟนิก (Heterophonic) เป็นลักษณะของการประสานเสียงที่ไม่ใช่รูปแบบดั้งเดิมของตะวันตก


คือ ไม่ใช้องค์ประกอบพื้นฐานของจังหวะการประสานเสียงแบบ Tonal Music พบในดนตรีเอเชีย เช่น ดนตรีกาเมลัน
(Gamelan) ของอินโดนีเซีย, ดนตรีจีน ฯลฯ

6. สีสันของเสียง (Tone Color) หมายถึง คุณลักษณะของเสียงที่กำเนิดจากแหล่งเสียงที่แตกต่างกัน แหล่งกำเนิด


เสียงดังกล่าว เป็นได้ทั้งที่เป็นเสียงร้องของมนุษย์และเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ ความแตกต่างของเสียงร้องของมนุษย์ ไม่
ว่าจะเป็นระหว่างเพศชายกับเพศหญิง หรือระหว่างเพศเดียวกัน ล้วนแล้วแต่มีพื้นฐานของความแตกต่างทางด้านสรีระ
เช่น หลอดเสียง และกล่องเสียง เป็นต้น

7. รูปแบบของเพลงหรือคีตลักษณ์ (Musical Form) หมายถึงลักษณะการจัดการโครงสร้างของดนตรีหรือเพลงที่มี


การแบ่งเป็นกลุ่มเสียง วลี ประโยค และท่อนเพลง เช่น เพลง 2 ท่อน หมายความว่าเพลงนี้แบ่งทำนองออกเป็น 2
ท่อน แต่ละท่อนจะมีทำนองที่แตกต่างกัน หรือ เพลง 3 ท่อน หมายความว่าเพลงดังกล่าวจะแบ่งออกเป็น 3 ท่อน
ท่อนที่ 1 กับท่อนที่ 2 จะมีทำนองเหมือนกัน หรือ ทำนองเดียวกัน ส่วนท่อนที่ 3 จะมีทำนองที่แตกต่างกันออกไป
เป็นต้น
รูปแบบของเพลงหรือคีตลักษณ์มีหลายรูปแบบ เช่น ไบนารี (Binary), เทอร์นารี (Ternary), รอนโด (Rondo), โซนา
ตา (Sonata) เป็นต้น

การอ่านโน๊ตเพลงสากล

การอ่านระดับเสียงจากตัวโน๊ต เราจะดูตำแหน่งของตัวโน๊ตบนบรรทัด 5 เส้น โดยหากระดับเสียงยิ่งสูง โน๊ตจะยิ่งอยู่สูง


หากระดับเสียงยิ่งต่ำโน๊ตจะยิ่งอยู่ต่ำ การสังเกตุว่าตัวโน๊ตตัวนั้นอยู่ระดับเสียงสูงหรือต่ำ จะสังเกตุจากหัวของตัวโน๊ต
เป็นหลัก ส่วนหางของตัวโน๊ตบางทีเราจะปัดขึ้นหรือปัดลงแล้วแต่ความเป็นระเบียบและความง่ายในการอ่าน ซึ่งไม่มี
ผลต่อระดับเสียงแต่อย่างใด

บรรทัดห้าเส้น (Stave)

บรรทัดห้าเส้นคือเส้นห้าเส้นเรียงขนานกันโดยระยะห่างแต่ละเส้นเท่ากัน โดยจะเรียกเส้นที่อยู่ข้างล่างสุดว่าเส้นที่ 1
และไล่ขึ้นไปตามลำดับ ระยะห่างแต่ละเส้น (Line) เราจะเรียกว่า ช่อง (Space)

การเขียนโน๊ตบนบรรทัดห้าเส้น สามารถเขียนได้ 2 แบบคือ

1. เขียนทับเส้น

2. เขียนบนช่อง (ระหว่างเส้น
ในกรณีที่ตัวโน๊ตอยู่สูงหรือต่ำเกินบรรทัดห้าเส้นออกไป สามารถที่จะเพิ่มเส้นลงไปได้ โดยเราจะเรียกเส้นที่เพิ่มมาว่า
เส้นน้อย (Leger Line) การเขียนโน๊ตที่เลยออกไปก็ยังต้องอยู่บนพื้นฐานของโน๊ตเส้น และโน๊ตช่อง
กุญแจ (Clefs)

กุญแจ คือสัญลักษณ์ทางดนตรีที่บันทึกไว้ตอนต้นของบรรทัดห้าเส้น กุญแจมีหน้าที่กำหนดระดับเสียงบนบรรทัดห้า


เส้นให้เป็นไปตามชนิดของกุญแจนั้นๆ

กุญแจในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จะใช้สองกุญแจ คือ

1. กุญแจซอล (Treble Clef)

2. กุญแจฟา (Bass Clef)

โน๊ตบนบรรทัดห้าเสียงที่มีกุญแจ “ซอล” เป็นตัวทำหน้าที่กำหนดระดับเสียง

โน๊ตบนบรรทัดห้าเสียงที่มีกุญแจ “ฟา” เป็นตัวทำหน้าที่กำหนดระดับเสียง

You might also like